วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก





บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสอง รองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปของศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชเริ่มนับ ๑ ถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย และเนปาล โดดยเริ่มขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) จากวันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับ


บรรดาศาสนาสำคัญที่มีผู้นับถือเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน พระพุทธศาสนานับว่าเป็นศาสนาที่มีอายุเก่าแก่เป็นอันดับสอง รองจากศาสนาพราหมณ์ที่ดำรงอยู่ในรูปของศาสนาฮินดู พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช (พุทธศักราชเริ่มนับ ๑ ถัดจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน) ในดินแดนชมพูทวีปซึ่งในปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย และเนปาล โดดยเริ่มขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พวกปัญจวัคคีย์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนอาสาฬะ (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘) จากวันนั้นเป็นต้นมา พระพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วชมพูทวีป โดยในระยะแรกพระองค์เสด็จออกเผยแผพระองค์เดียว เมื่อมีสาวกมากขึ้น ก็ให้พุทธสาวกออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย ทำให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายไปในชมพูทวีปอย่างรวดเร็ว ชาวชมพูทวีปพากันละทิ้งลัทธิเดิมแล้วหันมานับถือเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เป็นลำดับ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๖ ณ วัดอโศการาม นครปาฏลีบุตร แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร) ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน หลังจากสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น ๙ คณะแล้วส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ดังนี้
สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมิระ คือ รัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน และแคว้นคันธาระ ในปัจจุบัน คือ รัฐปัญจาป ทั้งของประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน
สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแคว้นมหิสมณฑ,ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐไมเซอร์และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ในตอนใต้ประเทศอินเดีย
สายที่ 3 พระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ในปัจจุบันได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย
สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบทปัจจุบันสันนิษฐานว่าคือดินแดนแถบชายทะเลเหลือเมืองบอมเบย์
สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์ ปัจจุบัน ได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย
สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในเอเซ๊ยกลาง ปัจจุบันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี
สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย สันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล
สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น
สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ปัจจุบัน คือ ประเทศศรีลังกา


       ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศต่างๆ มีดังนี้...
 ประเทศอเมริกา
 ประเทศอังกฤษ
 ประเทศเยอรมัน
 ประเทศเนเธอแลนด์(ฮอลแลนด์)
 ประเทศออสเตรเลีย
 ประเทศอินเดีย
 ประเทศเนปาล
 ประเทศศรีลังกา
 ประเทศญี่ปุ่น
 ประเทศเกาหลี
 ประเทศจีน
 ประเทศกัมพูชา
 ประเทศพม่า
 ประเทศลาว
 ประเทศมาเลเซีย
 ประเทศสิงคโปร์
 ประเทศอินโดนีเซีย
 ประเทศเวียตนาม

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น